คู่มือการทำ On-page SEO ฉบับเริ่มต้น (อัปเดต 2022)
On-Site SEO คืออะไร?
On-Site SEO (หรือ On-Page SEO) คือการปรับแต่งองค์ประกอบต่างๆ บนหน้าเว็บไซต์เพื่อเพิ่มอันดับในผลการค้นหา โดยจะมุ่งเน้นไปที่การทำให้ผู้ใช้และ Google สามารถย่อยคอนเทนต์บนหน้าเว็บไซต์ของคุณได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
ทำไมต้องทำ On-Site SEO?
On-Site SEO คือหนึ่งในส่วนสำคัญที่ Google ใช้เพื่อประเมินว่าหน้าเว็บของคุณสามารถตอบโจทย์การค้นหาของผู้ใช้งานได้มากน้อยเพียงใด การทำ On-Site SEO จึงเป็นการปรับปรุงคุณภาพโดยรวมของการใช้งานเว็บเพจ และส่งผลโดยตรงต่ออันดับที่เว็บเพจจะปรากฏในหน้าผลการค้นหา (Search Engine Result Page)
เริ่มต้นทำ On-Site SEO ง่ายๆ พร้อมคำแนะนำที่ใช้ได้จริง
ใช้ H1–H6 Tags ในการกำหนดหัวข้อหลักและหัวข้อย่อย
การวางโครงสร้างคอนเทนต์ด้วยหัวข้อหลักและหัวข้อย่อยจะช่วยทำให้ผู้ใช้งานและ Google สามารถย่อยเนื้อหาบนหน้าเว็บได้ง่ายยิ่งขึ้น
การใช้ Heading Tag (H1) จึงเป็นการช่วยทำให้ Google เข้าใจว่าหน้าเว็บเพจของคุณมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร เราแนะนำให้มีเพียงหนึ่ง H1 Tag ในหนึ่งหน้าเท่านั้น
ส่วนการกำหนด Subheading Tags (H2-H6) จะเป็นตัวช่วยในวางโครงสร้างเนื้อหาทั้งหมด H2 (Subheadings) คือหัวข้อย่อยภายใต้หัวข้อหลัก ในขณะที่ H3 (Sub-Subheadings) คือหัวข้อย่อยภายใต้หัวข้อย่อยตามลำดับ
กำหนด Title Tag & Meta Description ที่ดึงดูดใจ
Title Tag คือหัวข้อที่ปรากฏในหน้าผลการค้นหา มันเป็นข้อความแรกที่สื่อสารโดยตรงกับผู้ใช้ว่าเว็บเพจของคุณมีสิ่งที่พวกเขาต้องการหรือไม่ คุณจึงจำเป็นที่จะต้องกำหนด Title Tag ที่ดึงดูดใจเพื่อให้ผู้ใช้ตัดสินใจคลิก เทคนิคง่ายๆ ที่เราแนะนำประกอบไปด้วย:
- สั้นกระชับได้ใจความ ความยาวที่แนะนำไม่ควรเกิน 70 ตัวอักษร
- ตอบ User Search Intent สื่อสารกับผู้ใช้ว่าเว็บเพจของคุณมีสิ่งที่พวกเขาต้องการ
- สอดแทรก Keyword เป้าหมาย หรือ Keyword ที่ใกล้เคียงแบบไม่ยัดเยียดและเป็นธรรมชาติ
- กำหนด Title Tag ให้กับทุกหน้าเว็บที่ Google Index หน้าเว็บที่ได้รับการ Index มีโอกาสปรากฏในหน้าผลการค้นหาทั้งสิ้น
Meta Description คือคำอธิบายที่ปรากฏใต้ Title Tag แม้ว่ามันจะไม่ได้เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดอันดับ แต่คุณสามารถที่จะใช้มันเพื่อดึงดูดผู้ใช้และเพิ่ม Traffic ให้กับเว็บไซต์ของคุณได้ คำแนะนำในการเขียน Meta Description ประกอบไปด้วย:
- สั้นกระชับได้ใจความ ความยาวที่แนะนำไม่ควรเกิน 160 ตัวอักษร
- ขยายข้อความที่คุณต้องการจะสื่อสาร เพิ่มจุดขาย (Unique Selling Points – USP) ที่คุณไม่สามารถใส่ลงใน Title Tag ได้เพียงพอ
- ตอบ User Search Intent เน้นย้ำกับผู้ใช้ว่าเว็บเพจของคุณมีสิ่งที่พวกเขาต้องการ
- สอดแทรก Keyword เป้าหมาย Google มักที่จะเน้น Keyword ด้วยตัวหนาในผลการค้นหา
กำหนด URLs ที่เอื้อต่อการทำ SEO
URLs เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ปรากฏในหน้าผลการค้นหาเหนือ Title Tag และมีความสลักสำคัญต่อการทำ SEO คำแนะนำในการกำหนด URLs ที่เหมาะสมแก่การทำ SEO มีเพียง 2 ข้อง่ายๆ ดังนี้:
- กำหนด URLs ให้มีความชัดเจนและสั้นกระชับ
- เพิ่ม Keyword เป้าหมายในทุกๆ URLs
การใช้ Keyword อย่างเหมาะสม
เราแนะนำให้คุณสอดแทรก Keyword เป้าหมายตั้งแต่ย่อหน้าแรก เพื่อเป็นการสื่อสารจุดประสงค์และภาพรวมของเนื้อหาตั้งแต่แรก Google จะมองหาและใช้ Keyword เพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาภายในเว็บเพจ ดังนั้นการสอดแทรก Keyword ในเนื้อหาจึงมีความสำคัญ
แล้วควรที่จะใช้มากน้อยแค่ไหน? Google เองก็ไม่มีคำตอบที่แน่ชัดสำหรับคำถามนี้ แต่อยากให้คุณลองคิดในมุมของ Google หากว่า Keyword เป้าหมายของคุณปรากฏเพียงแค่ครั้งเดียวภายในเนื้อหา แล้ว Google จะแน่ใจได้ว่าเนื้อหาภายในหน้าเว็บนั้นเกี่ยวข้องกับ Keyword นั้นดังกล่าว?ในทางกลับกัน หากว่า Keyword ปรากฏหลายครั้งภายในเนื้อหา Google จึงสามารถรับรู้และมั่นใจได้ว่าเนื้อหานั้นเกี่ยวข้องกับ Keyword ดังกล่าว คำแนะนำที่ดีที่สุดจึงเป็นการสอดแทรก Keyword มากตามสมควรและอย่างเป็นธรรมชาติ
การทำ Internal & External Link Building
นอกเหนือจากการใช้ Keywords แล้ว Google ยังใช้ลิงก์ในการทำความเข้าใจเนื้อหาภายในเว็บเพจอีกด้วย การสร้างลิงก์นั้นควรทำทั้งในรูปแบบ Internal (ลิงก์ไปยังคอนเทนต์อื่นๆ ภายในเว็บของคุณเอง) และ External (ลิงก์ไปยังเว็บไซต์อื่นๆ)
การทำ Internal Link Building จะช่วยทำให้ Google สามารถ Crawl เว็บไซต์ของคุณได้ง่ายยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันยังทำให้ผู้ใช้อยู่บนเว็บไซต์ของคุณนานขึ้น ทำให้ Bounce Rate ลดลง และยังเพิ่มโอกาสให้คุณสามารถที่จะสื่อสารหรือตอบโจทย์ในสิ่งที่ผู้ใช้กำลังค้นหาได้ดีมากยิ่งขึ้นได้ด้วยการนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องในหน้าอื่นๆ อีกด้วย
การทำ External Link Building ไปยังคอนเทนต์ที่มีคุณภาพและเว็บไซต์ที่มี Authority สูงสามารถช่วย Google ทำความเข้าใจเนื้อหาภายในเว็บเพจของคุณ อีกทั้งยังเป็นการแสดงให้ Google เห็นว่าเว็บเพจของคุณเป็นศูนย์รวมของเนื้อหาที่มีคุณภาพอีกด้วย
Optimize รูปภาพที่ใช้บนหน้าเว็บ
รูปภาพภายในเว็บไซต์มีโอกาสที่จะปรากฏในผลการค้นหารูปภาพบน Google ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้าง Traffic มายังเว็บไซต์ 3 สิ่งที่คุณควรทำในการ Optimize รูปภาพมีดังนี้
- กำหนดชื่อไฟล์ด้วยถ้อยคำที่เข้าใจได้และชัดเจน
Google จะอ่านชื่อไฟล์เพื่อทำความเข้าใจว่ารูปภาพดังกล่าวคือรูปภาพอะไร ดังนั้นชื่อไฟล์จึงควรที่จะสื่อว่ารูปภาพดังกล่าวคือรูปภาพอะไรด้วยถ้อยคำที่เข้าใจได้และมีความชัดเจน เช่น black-coffee.jpg แทนที่จะเป็น IMG_478912.jpg
- กำหนด Alt Text
Alt Text หรือ Alternative Text คือโค้ดหลังบ้านที่จะไม่ปรากฏบนหน้าเว็บเพจที่ Google ใช้เพื่อทำความเข้าใจว่ารูปภาพดังกล่าวคือรูปภาพอะไร
เช่น <img src=https://yourdomain.com/black-coffee.jpg alt=”black-coffee”> จุดประสงค์หลักของ Alt Text มีไว้เพื่อการเข้าถึงแก่ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ที่บกพร่องทางการได้ยินหรือผู้ใช้ที่ใช้ Screen Readers ซึ่งจะแปลงเนื้อหาบนเว็บไซต์ รวมไปถึงรูปภาพเป็นเสียง
- Compress ขนาดรูปภาพให้เหมาะสม
การ Compress ขนาดรูปภาพให้มีขนาดไฟล์ที่เหมาะสมจะช่วยในเรื่องของความเร็วในการโหลดหน้าเว็บ การ Compress รูปภาพสามารถทำได้ด้วยเครื่องมือที่หาได้ทั่วไปบนอินเทอร์เน็ต เช่น ShortPixel เป็นต้น
สร้างคอนเทนต์ SEO ที่มีคุณภาพ
ส่วนสุดท้ายจะเป็นการพูดถึงการสร้างคอนเทนต์อย่างไรให้ติดอันดับต้นๆ ของผลการค้นหา หน้าที่หลักหน้าที่เดียวของ Google คือการนำเสนอสิ่งที่ผู้ใช้กำลังมองหา ดังนั้น Google จึงให้ความสำคัญคอนเทนต์ที่มีความสามารถในการตอบโจทย์ สร้างคุณค่า และถูก Optimized มาอย่างดีเป็นลำดับต้นๆ คอนเทนต์ของคุณจึงต้องมีคุณสมบัติดังนี้:
- มีเนื้อหาเฉพาะ ไม่ซ้ำใคร (Unique)
- คอนเทนต์ของคุณจะต้องมีเนื้อหาที่เฉพาะตัว หรือมีการนำเสนอสิ่งใหม่ๆ เช่น กรณีศึกษาใหม่ เคล็ดลับหรือกลยุทธ์ใหม่ ฯลฯ
- ส่งมอบคุณค่า (Valuable)
- นอกเหนือจากการเผยแพร่เนื้อหาเฉพาะตัว ไม่ซ้ำใคร คอนเทนต์ของคุณจะต้องส่งมอบคุณค่าแก่ผู้อ่านด้วย คุณสามารถที่จะสร้างคุณค่าให้แก่คอนเทนต์ได้ด้วยเทคนิคง่ายๆ ต่อไปนี้
- ผลิตคอนเทนต์ที่มีความสมบูรณ์ของเนื้อหา และเพิ่มรายละเอียดที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้งานต่างๆ เช่นรูปภาพหรือขั้นตอนปฏิบัติ
- อัปเดตเนื้อหาและข้อมูลให้ทันต่อสถานการณ์อยู่เสมอ
- คอนเทนต์ที่เขียนโดยผู้เขียนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ
- ตอบโจทย์ User Search Intent
- เนื้อหาที่ไม่ซ้ำใครและสร้างคุณค่าอาจทำให้เว็บไซต์ของคุณปรากฏบนหน้าแรกของ Google ได้ แต่การที่จะดำรงอยู่ได้อย่างยาวนานนั้น หน้าเว็บของคุณจะต้องตอบโจทย์ User Search Intent ให้ได้ หรือหน้าเว็บของคุณจะต้องมีสิ่ง/คำตอบที่ผู้ใช้กำลังมองหา
บทสรุป
- On-Page SEO คือการปรับแต่งองค์ประกอบต่างๆ บนหน้าเว็บไซต์เพื่อเพิ่มอันดับในผลการค้นหา
- มันคือการช่วยทำให้ผู้ใช้และ Google สามารถย่อยคอนเทนต์บนหน้าเว็บไซต์ของคุณได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
- ทั้งหมดที่กล่าวมาคือคำแนะนำเบื้องต้นในการทำ On-Page SEO สำหรับมือใหม่ที่สามารถนำไปใช้ได้ในทันที เมื่อปฏิบัติตามคำแนะนำเบื้องต้นนี้หมดแล้ว คุณสามารถปรับแต่งสิ่งอื่นๆ ที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นต่อไปได้